ที่มาและความสำคัญ

        ชนเผ่าดั้งเดิมหรือกลุ่มชนพื้นบ้านมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่มีความผูกพันกับพืช มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการใช้ประโยชน์จากพืชที่ได้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีการสูญหายไปบ้างตามกาลเวลาและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น สังคมเกษตรกรรมที่มีการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านปลูกพืชหลายชนิดโดยอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติ มีการเปลี่ยนแปลงเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว หรือชนเผ่าดั้งเดิมที่มีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งผลิตจากเส้นใยและวัสดุจากพืชก็เริ่มมีการแทนที่ด้วยเครื่องแต่งกายโดยใช้วัสดุสังเคราะห์ ในยุคปัจจุบัน หรือวิถีชีวิตแบบชนบทก็ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยสังคมเมือง เพื่อไม่ให้ภูมิปัญญาและทรัพยากรอันมีค่าสูญหายไปมากกว่านี้ จึงควรจะมีการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อสืบทอดภูมิปัญญานี้ไว้ โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์อื่นๆ อีกหลายสาขา เช่น พฤกษอนุกรมวิธาน พฤกษนิเวศ เภสัชศาสตร์ มานุษยวิทยา ฯลฯ การศึกษาวิจัยด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านยังเป็นแนวทางในการต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้านและพัฒนาการใช้พืชพื้นเมือง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน เช่น สมุนไพรพื้นบ้านหลายชนิด ที่คนพื้นเมืองได้ใช้สืบทอดกัน มาจากบรรพบุรุษ ได้มีการพัฒนาและผลิตเป็นทั้งยาแผนโบราณ และ ยาแผนปัจจุบัน ที่ใช้ในวงการแพทย์ และการสาธารณสุขในปัจจุบันนี้ อีกทั้งภูมิปัญญาด้านสุขภาพและความงามนำไปสู่การผลิตเครื่องสำอางหรือเวชสำอางจากพืชท้องถิ่นอีกพอสมควร นอกจากนี้ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านหลายรูปแบบ ได้มีการนำมาพัฒนา เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือธุรกิจขนาดย่อม ดังเช่น การผลิตผ้าด้วยเส้นใยและสีธรรมชาติ หัตถกรรมไม้แกะสลัก การผลิตเครื่องเขิน การผลิตภาชนะจักสานด้วยไม้ไผ่ หวาย การผลิตกระเป๋าย่านลิเภา และการ ผลิตเสื่อ หมวก กระสอบ ที่ทำจากต้นกระจูดเป็นต้น จะเห็นได้ว่าการศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและยังสามารถทำการศึกษาวิจัย-พัฒนาต่อยอดไปได้อีกมาก โดยเฉพาะในยุคโลกไร้พรมแดนและการเข้าสู่ประชาสังคมอาเซียน ควรมีการอนุรักษ์และจัดการองค์ความรู้พื้นบ้าน เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม ซึ่งจะทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นในอนาคต


วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสปีพระราชสมภพครบรอบ 84 พรรษา ในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลสำคัญด้านการส่งเสริมการศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านควบคู่กับการส่งเสริมศิลปาชีพ 2. เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และถ่ายทอดเทคโนโลยีของนักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบการ นักเรียน นักศึกษา ประชาชน รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรส่วนท้องถิ่น ภายในประเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ วิชาชีพ และการต่อยอดทางธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับพฤกษศาตร์พื้นบ้าน 3. เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิจัย พัฒนาใช้ประโยชน์ รวมถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน 4. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านพฤกษาสตร์พื้นบ้านของประเทศ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

กลุ่มเป้าหมาย

        นักวิชาการ นักวิจัย นิสิตนักศึกษา บุคลากรภาครัฐและเอกชน ชุมชนและบุคคลที่สนใจ จำนวน 200 ท่าน


เว็บไซต์การประชุมฯ

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการกระจายข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติฯ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ครั้งที่ 1 เพื่อให้บริการแก่นักพฤกษศาสตร์ นักวิจัย อาจารย์ และนิสิตนักศึกษาที่มีความสนใจในการเข้าร่วมได้เข้าถึงและรับความสะดวกจากทางผู้จัด

การใช้งานเว็บไซต์
ข้อตกลงและเงื่อนไข
FAQ
Sitemap

ข่าวล่าสุด

เปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
1 พฤษภาคม 59

ที่มาและวัตถุประสงค์

การประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านครั้งนี้ถือเป็นอีกขั้นของการยกระดับความสำคัญให้แก่วงการการศึกษาทางด้านภูมิปัญญาจากใช้ประโยชน์พืชสมุนไพร ซึ่งได้เปิดโอกาสให้มีการนำเสนอผลงานต่างๆ จากหลากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อันนำไปสู่การสร้างเครือข่ายเพื่อหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของการพัฒนาประเทศให้มีความทัดเทียมหรือเป็นผู้นำด้านการศึกษาวิจัยในทุกๆด้านในอนาคต

ติดต่อเรา