ที่มาและความสำคัญ
ชนเผ่าดั้งเดิมหรือกลุ่มชนพื้นบ้านมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่มีความผูกพันกับพืช มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการใช้ประโยชน์จากพืชที่ได้ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีการสูญหายไปบ้างตามกาลเวลาและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิตแบบชนบทค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยสังคมเมือง ดังนั้น เพื่อไม่ให้ภูมิปัญญาและทรัพยากรอันมีค่าสูญหายไปมากกว่านี้ จึงควรจะมีการศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อสืบทอดภูมิปัญญานี้ไว้ โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์อื่นๆ อีกหลายสาขา เช่น พฤกษอนุกรมวิธาน พฤกษนิเวศ เภสัชศาสตร์ มานุษยวิทยา ฯลฯ นอกจากนี้ การศึกษาวิจัยด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านยังเป็นแนวทางในการต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้านและพัฒนาการใช้พืชพื้นเมือง ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม
การประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติฯ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลสำคัญด้านการส่งเสริมใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาพื้นบ้านควบคู่กับการส่งเสริมศิลปาชีพตลอดจนเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติในฐานะ “พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์ และเป็นเวทีการนำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และถ่ายทอดเทคโนโลยีของนักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบการ นักเรียน นักศึกษา ประชาชน รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรส่วนท้องถิ่น ภายในประเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ตลอดจนความร่วมมือทางวิชาการ วิชาชีพ และการต่อยอดทางธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการศึกษาวิจัย พัฒนาใช้ประโยชน์ รวมถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
สถานที่จัดงาน
ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ดูแผนที่นี้ใน google map)
วันที่จัดงาน
24-27 สิงหาคม 2559
ขอบเขตการนำเสนอผลงาน
การประชุมวิชาการเฉลิมพระเกียรติฯ พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน แบ่งการนำเสนอผลงานออกเป็น 4 หัวข้อ ดังนี้
หัวข้อที่ 1 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านในชนเผ่าดั้งเดิม
หัวข้อที่ 2 การเกษตรพื้นบ้าน
หัวข้อที่ 3 การประยุกต์ใช้และศึกษาวิจัยต่อยอด
หัวข้อที่ 4 การอนุรักษ์และจัดการความรู้พื้นบ้าน
ผู้เข้าร่วมประชุม
นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา บุคลากรภาครัฐและเอกชน ชุมชนและบุคคลที่สนใจ
กำหนดการ
กำหนดส่งบทคัดย่อ |
ภายใน 15 กรกฎาคม 2559
(ขยายระยะเวลา) |
ลงทะเบียนร่วมงาน (นำเสนอผลงาน) |
|
1.
ภาคบรรยาย |
ภายใน 15 กรกฎาคม 2559 (ขยายระยะเวลา) |
2.
ภาคโปสเตอร์
|
|
การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน
|
24-26 สิงหาคม 2559
|
ทัศนศึกษา
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ |
26 สิงหาคม 2559 (ภาคบ่าย) |
ทัศนศึกษาเส้นทางสายวัฒนธรรมจอมทอง-หางดง (ดูรายละเอียด คลิก) |
27 สิงหาคม 2559 |
|
*หมายเหตุ
ต้องลงทะเบียนและส่งบทคัดย่อผ่านทางเว็บไซต์การประชุมฯก่อน
อัตราค่าลงทะเบียน
ประเภท |
Early bird rate (ภายใน 15 กรกฎาคม 2559) |
Normal rate (หลัง 15 กรกฏาคม 2559) |
Excursion |
นักเรียน/นักศึกษา |
500 บาท |
1,000 บาท |
ดูรายละเอียด คลิก |
ประชาชนทั่วไป |
800 บาท |
1,500 บาท |
หมายเหตุ
- ระบบจะปิดการลงทะเบียนออนไลน์ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 ผู้ที่สนใจลงทะเบียนหลังจากนี้ สามารถลงทะเบียนได้หน้างาน
- ค่าลงทะเบียน รวมเอกสารประกอบการประชุม อาหารกลางวัน อาหารว่าง และอาหารเลี้ยงรับรองมื้อเย็นในวันที่ 24 สิงหาคม 2559
การตีพิมพ์ผลงานเรื่องเต็ม
- กำหนดส่งบทความเรื่องเต็ม* 24 สิงหาคม 2559 - 31 ตุลาคม 2559
- บทความเรื่องเต็มที่ส่งภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2559 และได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) จะได้ตีพิมพ์ในวารสารพฤกษศาสตร์ไทย (Thai Journal of Botany)
แนะนำที่พัก
ข้อมูลที่พัก ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่พักในบริเวณใกล้เคียง ท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและจองที่พักตามข้อมูลเบอร์โทรศัพท์หรือเว็บไซต์ของแต่ละแห่งได้ด้วยตนเอง
คลิกเพื่อดูแผนที่ทั้งหมดของที่พัก
2. The Sun Hostel (350-380 บาท)
053 217 100
ติดต่อสอบถาม
ฝ่ายเลขานุการการประชุมฯ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
โทรศัพท์ : 053-841204, 093-1300670
โทรสาร : 053-841204
E-mail : [email protected]